จุฬาลงกรณ์ร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยตรวจโรค COVID-19

จุฬาลงกรณ์ร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยตรวจโรค COVID-19
จุฬาลงกรณ์ร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยตรวจโรค COVID-19

จุฬาลงกรณ์ร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยตรวจโรค COVID-19

สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่รุนแรง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและต้องการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยเหลือประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ได้จับมือบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมรายใหญ่ในประเทศไทยพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยตรวจโรค COVID-19 ชื่อว่า Ninja Robots เพื่อเสริมขีดความสามารถในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อและเพิ่มความปลอดภัยให้กับทีมแพทย์ในโรงพยาบาล
.
หุ่นยนต์ Ninja Robots แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หุ่นยนต์แบบตั้งโต๊ะติดตั้งหน้าจอแสดงผลและกล้องจับภาพบุคคลเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งานแม้จะติดตั้งล้อบริเวณด้านล่างของหุ่นยนต์แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองต้องใช้มนุษย์ช่วยเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปยังจุดต่าง ๆ หุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่ติดตั้งหน้าจอแสดงผลและกล้องจับภาพบุคคลเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนที่ได้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนและได้รับพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

โครงสร้างของหุ่นยนต์ใช้การประกอบภายในประเทศโดยใช้ชิ้นส่วนที่สั่งซื้อจากต่างประเทศและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิตชิ้นส่วน สำหรับขีดความสามารถในการผลิตหุ่นยนต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกำลังการผลิตหุ่นยนต์ได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 30 ตัว หากได้รับการร้องขอจากโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยใช้ต้นทุนการผลิตหุ่นยนต์ที่มีราคาถูกกว่าการสั่งซื้อหุ่นยนต์สำเร็จรูปจากประเทศ

นอกจากความสามารถในการช่วยตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรค COVID-19 หุ่นยนต์ Ninja Robots ยังสามารถช่วยตรวจเบื้องต้นทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและการตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วย สำหรับเป้าหมายในอนาคตทางมหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น เช่น การปล่อยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต-C (UVC) เพื่อทำลายเชื้อไวรัสในโรงพยาบาล

ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศได้มีการนำเอาหุ่นยนต์ Ninja Robots ไปใช้งานแล้ว 3 แห่งประกอบด้วย โรงพยาบาลราชนำหุ่นยนต์แบบตั้งโต๊ะจำนวน 2 ชุดไปให้บริการ โรงพยาบาลทรวงอกนำหุ่นยนต์แบบเคลื่อนที่จำนวน 1 ชุดไปให้บริการ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีนำหุ่นยนต์แบบตั้งโต๊ะจำนวน 1 ชุดไปให้บริการ นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยที่มุ่งนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือประเทศในยามที่ทุกคนต้องรวมพลังกันเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่แสนลำบากในระหว่างการระบาดของโรค COVID-19

ขอบคุณที่มาของข่าว
Thai PBS